Balantidium coli
Balantidium
coli
เป็นซิลิเอตโพรโทซัวที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่
ทำให้เกิดโรคบาแลนทิ
เดียซิส
จัดว่าเป็นโพรโทซัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เป็นปรสิตในคน
พบได้ทั่ว
โลกโดยเฉพาะในเขตอบอุ่น
โทรโฟซอยต์เป็นรูปไข่ขนาดประมาณ
30-120 x 40-200
ไมครอน มีขนเซลล์เท่าๆกันรอบตัว ด้านหัวจะมีไซโทสโตมมีรูปร่างคล้ายกรวย
ด้านท้ายของตัวเป็นไซโทพีน (Cytopyge) มีแมโครนิวเคลียสเป็นรูปไต
ไมโครนิวเคลียสค่อนข้างกลม
ภายในไซโทพลาซึมจะมีแวคิวโอลอาหารค่อนข้างมาก
รูปร่างลักษณะและระบาดวิทยา
ซิสต์รูปร่างกลม
ผนังหนาและมีขนเซลล์
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50 ไมครอน
มีผนัง 2 ชั้น
การติดต่อเกิดได้โดยการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อน
หมูเป็นรังเก็บเชื้อที่สำคัญ
ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมักมีอาชีพเกี่ยวข้องกับหมู
การเกิดโรคในคนทั่วไปพบน้อย
พยาธิวิทยาและอาการ
หลังจากซิสต์ถูกกิน
โทรโฟซอยต์จะออกจากซิสต์บริเวณลำไส้เล็กเคลื่อนตัวไปที่ลำไส้ใหญ่แล้วแทรกตัวเข้าไปในชั้นมิวโคซา
โดยอาศัยขนเซลล์และเอนไซม์ไฮอะลูโรนิเดส
ทำให้เกิดแผลที่มิวโคซา
ปากแผลมีขนาดใหญ่กว่าแผลที่เกิดจาก E.histolytica
เนื่องจากการแทรกตัวเข้าไปในมิวโคซาและมีเอนไซม์ดังกล่าวทำให้แผลมีเลือดออกและอักเสบ
แผลนี้อาจติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำได้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
ท้องร่วง อาจมีการถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด
บางครั้งอาจไชทะลุลำไส้ทำให้เกิดฝีนอกลำไส้ได้
การวินิจฉัย การรักษา การป้องกัน
ตรวจอุจจาระพบระยะโทรโฟซอยต์หรือซิสต์
ยาที่ใช้ได้ผลคือ
เมโทรนิดาโซลร่วมกับเตตระไซคลินโดยใช้เมโทรนิดาโซล
400-800
มิลลิกรัมวันละ
3
ครั้งนาน
7
วัน
หรือเตตระไซคลิน 500
มิลลิกรัมวันละ
4
ครั้งนาน
3
วัน
มีสุขอนามัยส่วนบุคคลและสุขาภิบาลที่ดี
สปอโรซัว
เป็นโพรโทซัวที่ไม่มีขนเซลล์
แฟลเจลลา
ตีนเทียมหรือโครงสร้างอื่นใดที่ใช้ในการเคลื่อนที่ยกเว้นระยะไมโครแกมีต
(microgamete)
เท่านั้นจะมีแฟลเจลลา
อาศัยอยู่ในเซลล์ของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังและมีกระดูกสันหลัง บางคนเรียกว่า อะพิคอมเพลกซา
(Apicomplexa)
เนื่องจากมีโครงสร้างมีลักษณะคล้ายวงแหวนเล็กๆอยู่ปลายด้านหน้าสุดของเซลล์เรียกว่าอะพิคัลริง
(Apical
ring)
เชื่อว่าทำหน้าที่เจาะ เป็นโพรโทซัวกลุ่มเดียวที่สร้างสปอร์ได้
และสปอร์จะไม่มีโพลาร์ฟิลาเมนต์
(polar
filament)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น