โรคมาลาเรีย
โรคมาลาเรีย
โรคมาลาเรียเกิดจากเชื้อพวกสปอโรซัว
มีชื่อเรียกหลายชื่อคือ ไข้จับสั่น ไข้ป่า ไข้หัวลม ไข้ดอกสัก พบทั่วไปในบริเวณป่า
เทือกเขามีลำธาร หรืออาจเป็นน้ำเค็ม น้ำกร่อย
ป่าชายทะเลที่มียุงก้นปล่องตัวเมียเป็นพาหะนำเชื้อ
มาลาเรียเป็นโรคของประเทศแถบร้อนและชิดเขตร้อน
องค์การอนามัยโลกได้จัดให้เป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งของโรคเมืองร้อน
ในแต่ละปีมีประชากรโลกป่วยด้วยโรคมาลาเรียถึง 500 ล้านคน
และเสียชีวิตประมาณ 1-2 ล้านคน จากประชากรโลก 2,600
ล้านคน
นอกจากนี้ยังพบว่าลิง สัตว์แทะ ค้างคาว กิ้งก่า นก เป็นมาลาเรียเช่นเดียวกัน
ชนิดของเชื้อไข้มาลาเรียและยุงพาหะ
1.
Plasmodium falciparum พบทุกภาคของประเทศไทย
พบถึงร้อยละ 60 ของผู้ป่วย
เป็นชนิดที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงมากที่สุด
ทำให้เกิดโรคมาลาเรียชนิดจับไข้วันเว้นวัน
2. Plasmodium vivax พบร้อยละ 35
ของผู้ป่วย
เชื้อชนิดนี้มีระยะก่อนเข้าเม็ดเลือดแดงตกค้างในตับ ทำให้เกิดระยะฮิพโนซอยต์ได้
ทำให้เกิดไข้กลับ ทำให้เกิดโรคมาลาเรียชนิดจับไข้วันเว้นวัน
3. Plasmodium malariae พบร้อยละ
0.5 ของผู้ป่วย
พบในบางพื้นที่ของไทยเช่น เชียงราย แม่ฮ่องสอนและตาก ไม่มีระยะฮิพโนซอยต์
ทำให้เกิดโรคมาลาเรียชนิดจับไข้วันเว้น 2 วัน
4. Plasmodium ovale
เพิ่งมีรายงานว่าพบในประเทศไทยเพียง
7
รายจาก
จังหวัดสระบุรี
ลพบุรี จันทบุรีและเชียงใหม่ มีระยะฮิพโนซอยต์เช่นเดียวกัน
ก่อโรคมาลาเรียชนิดจับไข้วันเว้น 2 วัน
โรคมาลาเรียมียุงก้นปล่องตัวเมียเป็นพาหะนำโรค ยุงก้นปล่องมีหลาย
ชนิด แต่ละพื้นที่อาจมียุงก้นปล่องที่เป็นพาหะหลักแตกต่างกัน
สำหรับใน
ประเทศไทยมียุงก้นปล่องที่เป็นพาหะหลักดังนี้
ชนิดของยุงพาหะ
1. Anopheles
minimus
ชอบอยู่ตามพื้นที่ป่าเขา
วางไข่ที่ริมธารน้ำไหล และมี
แสงแดดส่องถึง
หลังดูดกินเลือดเสร็จแล้วมักเกาะในบ้านมากกว่านอกบ้าน
2. Anopheles
dirus
ชอบอยู่ตามพื้นที่ป่าเขาเช่นกัน
วางไข่ในน้ำสะอาดที่ขังอยู่ตามแอ่งน้ำเล็กๆหลังฝนตก
รวมทั้งน้ำที่ขังอยู่ตามรอยเท้าสัตว์ หลังดูดกินเลือดแล้วมักเกาะพักนอกบ้าน
3. Anopheles
maculatus
กระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทย
มีแหล่งเพาะพันธุ์อยู่ตามน้ำพุ น้ำซึม บริเวณป่าเชิงเขา
4. Anopheles
sundaicus
ชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าเขาชายฝั่งทะเล
วางไข่ตามแอ่งน้ำชายฝั่งทะเล ดังนั้นมาลาเรียในภาคใต้จะมียุงชนิดนี้เป็นพาหะหลัก
พยาธิสภาพ
ที่รุนแรงที่สุดคือ
เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน ซึ่งเกิดจากการทำลายของเซลล์ การอักเสบ
และการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ดังนี้
1. เกิดจากการทำลายเซลล์คือเม็ดเลือดแดง
เมื่อเม็ดเลือดแตกเชื้อจะปล่อยสารไพโรเจนออกมา สารนี้จะแพร่ไปตามกระแสเลือด
และไปกระตุ้นสมองส่วนไฮโพทาลามัส
ทำให้เกิดไข้ และเมื่อเซลล์ระบบอาร์อีถูกกระตุ้น
เซลล์คัฟเฟอร์ในตับจะสร้างขึ้นมาก
ขณะเดียวกันในม้ามก็จะสร้างแมโครฟาจ
ออกมา ผลการกระตุ้นและการตอบสนองคือ ตับและม้ามโต
2.
เกิดการอักเสบ
เมื่อมีการติดเชื้อผนังหลอดเลือดจะอักเสบ เลือดจะข้น
เนื่องจากร่างกายขับฮิสตามีนออกมา
เมื่อความเข้มข้นของร่างกายเพิ่มขึ้น น้ำ
และพลาสมาจะซึมออกนอกเลือด
เมื่อเลือดข้นขึ้นการไหลเวียนก็จะช้าลง
เนื้อเยื่อส่วนต่างๆได้รับเลือดน้อยลง
ในที่สุดเลือดแข็งตัวเป็นลิ่ม
3.
เกิดการตอบสนองภูมิคุ้มกัน ผู้ที่เป็นมาลาเรียจะสร้างแอนติบอดีขึ้นมา
แอนติบอดีจะไปกระตุ้นระบบคอมพลีเมนต์
ทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่าง
แอนติเจนกับแอนติบอดีขึ้นที่หลอดเลือดฝอยโกลเมอรูลัส ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ
ในการกรองของเสีย เกิดไตอักเสบ
อาการ
ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ
อาจแบ่งอาการออกได้โดยสรุปดังนี้
1.
ระยะฟักตัว
หากเป็น P.falciparum
เฉลี่ย
12
วัน
P.vivax
เฉลี่ย
14
วัน P.malariae
เฉลี่ย
30 วัน
P.ovale
ไม่แน่นอน
2.
อาการนำ
ไม่สบาย ปวดศรีษะ แขน
ขา ลำตัว ครั่นเนื้อครั่นตัว คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ต่อมาจะจับไข้ 2-3
วันแรกอาการยังไม่แน่นอน
แต่ภายหลังอาการจะเริ่มแน่นอน แบ่งอาการออกเป็น 3 ระยะ
2.1 ระยะหนาว
เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะรู้สึกหนาวมาก อาการดังกล่าวอาจเกิดได้ตั้งแต่ 15
- 60 นาที
ตัวจะร้อนมาก ผิวหนังจะแห้ง สาเหตุเกิดจากเม็ดเลือดแดงแตกจำนวนมากและมีสารไปกระตุ้นไฮโพทาลามัส
2.2 ระยะไข้ ใช้เวลาประมาณ 2
ชั่วโมง
ผู้ป่วยมีไข้สูง อุณหภูมิเกิน 40 องศา หน้าแดง ปวดศรีษะ
คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำและมีอาการเพ้อ
2.3
ระยะเหงื่อออก
ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเหงื่อออก
อุณหภูมิจะเริ่มลดลงสู่ระดับปกติ อาการต่างๆจะหายไป
3. ระยะเวลาจับไข้
แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อมาลาเรีย อาจเป็นวันเว้นวันหรือวันเว้น 2
วันแล้วแต่ได้รับเชื้อชนิดใด
4. อาการไข้กลับ
พบเฉพาะเชื้อชนิด P.vivax
และ P.ovale
เท่านั้นที่มีระยะฮิพโนซอยต์
ทำให้กลับมาเป็นใหม่ได้อีก
การวินิจฉัย
1. ดูจากอาการไข้
และระยะเวลาที่จับไข้และลักษณะอื่นประกอบเช่น
ตาเหลือง ซีด ม้ามโต
รวมถึงการสืบประวัติว่าอยู่ในถิ่นระบาดหรือไม่ แต่ต้อง
ทำร่วมไปกับวิธีอื่นด้วย
2.
โดยการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วหรือเจาะจากเลือดดำ
นำมาสเมียร์หรือทำฟิล์มเลือด
และย้อมฟิล์มเลือดเหล่านี้ด้วยสียิมซา ซึ่งทำได้ 2 แบบคือฟิล์มเลือดบางกับฟิล์มเลือดหนา
ฟิล์มเลือดบางจะเห็นลักษณะเชื้อมาลาเรียชัดเจน เห็นเม็ดเลือดแดง และคอร์พัสเคิล (corpuscle)
อื่น ฟิล์มเลือดหนาจะเห็นมาลาเรียชัดเจนขึ้น แต่ไม่เห็นเม็ดเลือดแดงหรือคอร์พัสเคิลอื่น
การรักษา
1. การรักษาตามอาการ
เป็นการให้รักษาไปตามแนวทางของอาการที่เกิดขึ้น
2.
การรักษาเฉพาะ
เป็นการรักษาโดยการให้ยาฆ่าเชื้อมาลาเรีย
ปัจจุบันยังไม่พบว่ามียาฆ่าเชื้อมาลาเรียเพียงชนิดเดียวที่สามารถนำไปใช้ได้ดีกับเชื้อมาลาเรียทุกชนิดและทุกระยะของเชื้อ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น