แมลงเวกเตอร์

แมลงเวกเตอร์
       ในอาฟริกาตะวันตกมีแมลงเวกเตอร์ 3 ชนิดคือ  Glossina morsitans     
G. swynnertoni G. palidipes
ในอาฟริกาตะวันออกมีแมลงเวกเตอร์ 1 ชนิดคือ Glossina palpalis  

    พยาธิสภาพและอาการ
           เริ่มจากบริเวณที่แมลงกัด จะเกิดตุ่มแผลเล็กๆ จากนั้นเมื่อเชื้อกระจาย

ไปตาม กระแสเลือดและน้ำเหลือง ตัวปรสิตจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนโดย

รวดเร็ว ผู้ป่วยระยะมีอาการไข้ ปวดศรีษะ เหนื่อยเพลีย 

ต่อมน้ำเหลืองโต ผู้ที่ติดเชื้อ T.gambiense มักจะตายภายใน 2-3 เดือนหลังจาก

ได้รับเชื้อโดยที่เชื้อยังไม่เข้าสู่สมอง

      สำหรับ T. rhodesiense เชื้อจะแบ่งตัวช้ากว่า ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่จน

กระทั่งเชื้อเข้าสู่สมอง ซึ่งถือเป็นการเข้าสู่ระยะเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการ

ซึม ง่วงหลับ และอาจเสียชีวิต






การตรวจวินิจฉัย การรักษา

        1. เจาะเลือดหรือน้ำเหลืองหรือน้ำไขสันหลังสเมียร์และย้อมสี

        2. เพาะเชื้อ นำไปเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อ
  
        3. ฉีดเลือดผู้ป่วยเข้าสัตว์ทดลองจะพบเชื้อ

       1. ใช้ยาเพนตะมิดิลไอโซไทโอเนต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือด    4    มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมทุก

วัน นาน 10 วัน

        2. ใช้สุรามินโซเดียมฉีดเข้าหลอดเลือดขนาด 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมทุกวันที่ 1,3,7,14 และ 21

การป้องกันและควบคุม
       
       1. พยายามไม่ให้แมลงกัด
       2. ทำลายแหล่งพักของแมลงพาหะ
       3. ทำลายสัตว์ที่เป็นรังเก็บเชื้อโรค


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Balantidium coli

Trichomonas vaginalis

Ciliate protozoa