Leishmania tropica

Leishmania tropica 
      เป็นโพรโทซัวกลุ่มเดียวกับ L. donovani แต่จะแตกต่างกันที่ชนิดของแมลงเวกเตอร์ แหล่งระบาดและลักษณะของโรค ทำให้เกิดโรค       ลิชมาเนียซิสผิวหนัง หรือโรคแผลตะวันออก (Orientalsore) หรือโรคฝีเดลฮี (Delhi) มักจะพบกับชุมชนในเมือง โดยมีสุนัขเป็นรังเก็บเชื้อ
      ปัจจุบันทราบว่าโรคแผลตะวันออกนั้นที่จริงมี 2 ชนิด ชนิดแรกเกิดจากเชื้อ L.tropica ชนิดที่ 2 เกิดจาก L.major ความแตกต่างระหว่างเชื้อ 2 ชนิดคือ ชนิด L.tropica มักเป็นแผลเดียวและแผลค่อนข้างแห้งขอบแผลมีเชื้อมากกว่า พบในชุมชนเมือง ส่วนชนิด L.major แผลค่อนข้างเปียกชื้นและพบในชนบทมากกว่าและมีหนูเป็นรังเก็บเชื้อ



พยาธิสภาพและอาการ
                 ในระยะแรกที่ได้รับเชื้อจากแมลงพาหะ จะเป็นตุ่มแดงนูน ใต้ตุ่มนูนจะเป็นแผล และอาจมีแผลเกิดใกล้เคียงกันอีกหลายตำแหน่ง แผลจะเป็นแผลขอบยก ก้นแผลลึก ขนาดแผลอาจใหญ่หลายเซนติเมตร แต่จะไม่เจ็บ แผลจากเชื้อทั้ง 2 ชนิดสามารถหายเองได้โดยใช้เวลาตั้งแต่ 2 เดือนจนถึง 1 ปี แต่หากรักษาจะหายเร็วกว่า


การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกัน
  1. วิธีดีที่สุดคือ การตรวจหาเชื้อระยะอะแมสทิโกตจากบริเวณขอบแผล
  2. เพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อ
  1. ให้การรักษาด้วยวิธีการศัลยกรรมเช่นผ่าตัดออก จี้ด้วยไฟฟ้า จี้ด้วยไนโตรเจนเหลว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของแผล
  2. ใช้เพนทาสแตมฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือด
  1. รักษาผู้ป่วยให้หายขาด
  2. กำจัดแมลงพาหะ
  3. กำจัดสัตว์ที่เป็นรังเก็บเชื้อ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Balantidium coli

Ciliate protozoa

Trichomonas vaginalis