Giardia lamblia
Giardia lamblia
เป็นโพรโทซัวที่มีแฟลเจลลา
พบบ่อยที่สุดในบรรดากลุ่มโพรโทซัวอาศัยในลำไส้
อาศัยอยู่ใลำไส้เล็ก
ส่วนดูโอดีนัมและส่วนต้นของเจจูนัม
ก่อโรคท้องเสียเรื้อรังในเด็ก หรือเรียกตามชื่อตัวก่อโรคว่าไกอาร์
เดียซิส
(Giardiasis)
นอกจากนี้ในยุโรปและอเมริกามีรายงานว่าพบในพวกรักร่วมเพศ (Homosexual)
โดยการร่วมเพศทางทวารหนักและใช้ปากดูดอวัยวะเพศ ทำให้ติดเชื้อทางปาก
จัดเป็นโรคที่สำคัญชนิด
หนึ่งในประเทศไทย
โพรโทซัวชนิดนี้พบได้ทั่วโลก
แต่พบมากในเขตร้อนมากกว่าเขตหนาว
รูปร่างลักษณะ
Giardia
จะมีรูปร่างลักษณะอยู่
2
แบบคือโทรโฟซอยต์และซิสต์ โทรโฟซอยต์จะมีลักษณะคล้ายหยดน้ำ
หรือเม็ดทองหยอดผ่าซีก ขนาดเล็กมาก สมมาตรด้านข้าง มองด้านหน้าจะเห็นซักกิงดิสค์
2
อัน
ตรงกลางมีนิวเคลียส 2 อันมีขนาดและรูปร่างเหมือนกัน แฟลเจลลา 8
เส้น
กลางตัวมีแกนแข็งเรียกว่าแอกโซสไตล์ยาวตลอดจนถึงปลาย
ซิสต์รูปร่างกลมรี
มีขนาดเล็กมาก ภายในมีนิวเคลียส 4 อันค่อนไปทางด้านหน้า ผนังซิสต์เรียบ
มองเห็นแอกโซสไตล์จำนวน 2-4 เส้นและแฟลเจลลาได้
ซิสต์จะปนอยู่ในอุจจาระแยกได้ยากและเป็นระยะติดต่อ
พยาธิสภาพ
ซักกิงดิสค์ที่เกาะติดกับผนังลำไส้ทำให้เกิดการอักเสบในชั้นลามินาโพรเพรีย
(lamina
propria)
วิลไลถูกทำลายและหดสั้นลง
ส่งผลให้การดูดซึมอาหารบกพร่อง ทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้
การดูดซึมไขมันลดลงเนื่องจากตัวมันแย่งใช้เกลือน้ำดี
ดังนั้นบางรายจึงมีไขมันปนออกมากับ
อุจจาระ เนื่องจากเอนไซม์ไลเพสลดลง
เป็นผลให้กระทบการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันด้วย ทำให้
ขาดวิตามิน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ
ในรายที่มีอาการอาจมีอาการท้องอืด ปวดท้อง หรือท้องเสียเรื้อรัง
ร่วมกับมีอาการไขมันปนในอุจจาระ น้ำหนักลด ขาดวิตามิน
และอาจมีอาการถุงน้ำดีอักเสบได้
การวินิจฉัย การรักษาและการควบคุม
ตรวจอุจจาระจะพบระยะโทรโฟซอยต์หรือซิสต์
หรือตรวจพบโทรโฟซอยต์ในน้ำที่ดูดจาก
ลำไส้เล็ก (duodenal
aspiration)
ยาที่นิยมใช้คือเมโทรนิดาโซลขนาด
200-400
มิลลิกรัมวันละ
3
ครั้งต่อเนื่อง
5
วัน
และยาไทนิดาโซลขนาด 2 กรัมรับประทานครั้งเดียว
1. ดื่มน้ำที่สะอาดหรือต้มสุกแล้ว
2. รักษาอนามัยส่วนบุคคลให้ดี
เช่นล้างมือให้สะอาด
3.
รักษาผู้ป่วยให้หายขาด
ไม่นำอุจจาระไปทำปุ๋ย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น