โรคบิดอะมีบา

โรคบิดอะมีบา
          บิดชนิดนี้เกิดจากโพรโทซัวชื่อ Entamoeba histolytica พบได้ทั่วโลก ในอดีตเป็นโรคที่สำคัญใ
ประเทศไทย แต่ปัจจุบันไม่มีการระบาดแล้ว แต่เชื้อก็ยังไม่ได้หมดไปหากการสาธารณสุขไม่ดี ย่อมมีการ
ระบาดย้อนกลับ
       สาเหตุ เกิดจากการได้รับเชื้อบิดในรูปของซิสต์ จากการดื่มน้ำ และรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อน เช่น จากแมลงวันตอม จากดินที่ปนเปื้อนมือ จากน้ำดื่มที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อเป็นต้น
รูปร่างลักษณะ
          โทรโฟซอยต์ มีรูปร่างไม่แน่นอน เคลื่อนที่โดยใช้ตีนเทียมที่มีลักษณะค่อนข้างใส ยืดหดได้เร็ว 
โทรโฟซอยต์จะเห็นนิวเคลียสชัดเจนดี หากตรวจตัวอย่างสดที่เก็บจากอุจจาระผู้ป่วย จะเห็นเม็ดเลือด
แดงในไซโทพลาซึมค่อนข้างมาก 
         ซิสต์ มีรูปร่างกลม หากเป็นซิสต์ที่สร้างใหม่ๆจะเห็นแท่งโครมาตอยด์ (RNA) และก้อนไกลโคเจน
แวคิวโอล (แป้ง) อยู่ด้วย อาจพบนิวเคลียส 2 หรือ 4 นิวเคลียส แต่หากเป็นซิสต์เก่าจะไม่พบแท่งโครมา
ตอยด์ และเห็นนิวเคลียสจำนวน

โทรโฟซอยต์ของ E. histolytica


โทรโฟซอยต์ของ E. histolytica

ตัวอย่างสดเห็นเท้าเทียมชัด

โทรโฟซอยต์และซิสต์ของ E.histolytica
ภายในโทรโฟซอยต์มีเม็ดเลือดแดง
วัฏจักรชีวิต Entamoeba histolytica


อาการ

     1. ชนิดเฉียบพลัน ระยะพักตัวประมาณ 8-10 วันเริ่มจากปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลว มีมูกเลือดปน
ออกมาเล็กน้อย กลิ่นเหม็นมาก ตรวจอุจจาระสดจะพบโทรโฟซอยต์
     2. ชนิดเรื้อรัง เกิดจากการรักษาไม่ถูกต้อง  เช่นแผลยังหายไม่หมดกลับมาเป็นใหม่ เป็นๆหายๆหลาย
สัปดาห์หรือเป็นปี หากตรวจอุจจาระสดจะพบทั้งระยะโทรโฟซอยต์และซิสต์
     3. บิดไม่มีอาการ มีอาการเพียงท้องอืด ท้องเฟ้อเจ็บใต้ชายโครงขวา ตรวจอุจจาระจะพบเฉพาะ
ระยะซิสต์

อาการโรคบิดที่มีภาวะรุนแรงขึ้น  

        บิดอะมีบาที่มีภาวะแทรกซ้อน
        1. อะมีบิกแกรนูโลมาหรืออะมีโบมา (Amoebic granuloma or Amoeboma)  มักพบเป็นก้อนที่
ซีกัและเรกตัม เนื่องจากมีการอักเสบเรื้อรัง ตรวจอุจจาระพบระยะโทรโฟซอยต์   
        2. ลำไส้ทะลุเนื่องจากแผลลุกลามลึกจนลำไส้ทะลุ
        3. เลือดออกเนื่องจากแผลกินลึกถึงหลอดเลือดใหญ่ เลือดจะออกมามาก
        4. ไส้ติ่งอักเสบ
พยาธิสภาพของลำไส้ใหญ่


โรคบิดอะมีบานอกลำไส้
                 สาเหตุเกิดจากปล่อยให้เป็นบิดเรื้อรัง ไม่รักษาให้หายขาดทำให้เชื้อบิดแพร่กระจายจาก
ลำไส้ใหญ่ผ่านเข้าไปสู่ตับโดยตรงทำให้เกิดฝีบิดที่ตับ
                 บางครั้งจะพบว่าเชื้อบิดผ่านเข้าทางหลอดเลือด mesenteric vein ซึ่งเป็นหลอดเลือดระบบ portal นำเลือดจากลำไส้เข้าสู่ตับ และแพร่ผ่านไปสู่อวัยวะอื่นเช่น ปอด กระบังลม สมอง หรืออวัยวะอื่นต่อไป   บางครั้งจะพบผ่านไปทางระบบน้ำเหลือง



การป้องกัน
1. อาหารจะต้องสะอาด ไม่มีแมลงวันตอมเพราะแมลงวันอาจเป็นพาหะนำเอาซิสต์ในระยะติดต่อมาสู่มนุษย์ได้
2. ผักสด ผลไม้ล้างให้สะอาดก่อนนำมารับประทาน อาจมีการปนเปื้อนของซิสต์ได้เช่นเดียวกัน
3. รักษาผู้ป่วยเรื้อรังหรือบิดไม่มีอาการให้หายขาดเพื่อจะได้ไม่เป็นตัวให้อาศัยสะสมหรือรังเก็บเชื้อ
การรักษา
               ยาในกลุ่มไนโตรมิดาโซล (Nitromidazole) ใช้ได้ผลดี มีหลายชนิดเช่น เมโทรนิดาโซล    
ไทนิดาโซล อิมิทีนไฮโดรคลอไรด์  แต่นิยมใช้ในประเทศไทยคือ เมโทรนิดาโซล ใช้ 500-800 มิลลิกรัม 
กิน 3 เวลา 5 วัน



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Balantidium coli

Ciliate protozoa

Trichomonas vaginalis